สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก องค์กรการกุศล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ชัดเจนด้านการศึกษา คือ 1) ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาสำหรับผู้ที่ขาดโอกาสในการศึกษาให้แก่ เด็ก เยาวชน และประชาชนโดยทั่วไป ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาสำหรับผู้มีความต้องการศึกษาในศูนย์การเรียน โดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชนฯ 3) เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ทางด้านวิชาการและด้านการประกอบสัมมาชีพบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ 4) ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาที่มุ่งเรียนรู้จากสถานที่จริง แหล่งเรียนรู้ในเขตพื้นที่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อความยืดหยุ่น คล่องตัวฯ และ 5) ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและทักษะการใช้ชีวิต ให้แก่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม
และยังเป็นการรวบรวมเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ด้าน ระบบการจัดการเรียนการสอน หรือ LMS (Learning Manangement System) โดยระบบดังกล่าวได้พัฒนาผ่าน โปรแกรม Moodle (Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) ที่สมาคมฯ มอบหมายให้ศูนย์สาธิตทางการศึกษา : EDC เป็นผู้ดูแล และให้สถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา : EII เป็นผู้สนับสนุนงานทางวิชาการ โดยทั้งสองหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก
คือ องค์ความรู้ของพระราชา (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) ที่ทรงช่วยเหลือปวงชนชาวไทย เป็นการวางแนวคิด ทฤษฎี ปลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน ทั้งนี้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรรม ธุรกิจ การจัดการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และสถานศึกษาจนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลจึงได้น้อมนำ "ศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน" ในการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 รวมทั้งการพัฒนาประเทศเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมโลกทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับโลก โดยน้อมนำพระราชดดำรัสที่ให้ "ประชาชนเป็นศูนย์กลาง" ของการพัฒนา เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้เชื่อโยง "ศาสตร์พระราชา" ในเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs - Sustainable Development Golds) จนประสบความสำเร็จในการสร้างความตระหนักและการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ (อโนชา สินธุนาคิน, 2560 : ออนไลน์ / อ้างถึงใน ขวัญเรือน จอมโคกสูง : ออนไลน์ แหล่งที่มา http://ejournal.nidtep.go.th/PDF/pdf5be2a9e9a84dd.pdf)
อ่านเพิ่มเติมอ่านเพิ่มเติมคือ แนวทางการพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนา "คน" และการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เริ่มต้นจากการพึ่งพาตนเอง สร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน สร้างการรับรู้ เข้าใจถึงปัญหา เข้าใจถึงแนวทางของการพัฒนาในอนาคตและสามารถ ประสานเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจโลกได้ โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางศาสตร์ของพระราชาจึงเป็นเรื่องที่ดำเนินการจากล่างขึ้นบน องค์ความรู้ต่างๆที่พระองค์ทรงใช้ในการพัฒนา มีศูนย์กลางการเรียนรู้และการแก้ปัญหาอยู่ที่ “คน” ทั้งสิ้น การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนิน ชีวิตแบบปกติธรรมดา โดยเริ่มต้นด้วยการสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลก่อน รวมทั้งการสร้างความรู้ ความสามารถพัฒนาสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันช่วยกันทำ ช่วยกันคิดเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน โดยใช้ความรู้ความสามารถ ความถนัด และความเชี่ยวชาญของตนเอง ในการพัฒนางานและแนะนำผู้อื่น คำนึงถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สิ่งเหล่านี้ย่อมนำมาซึ่งความสามัคคี ปรองดองอันจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของสังคม รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและประเทศชาติ ให้มีความก้าวหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป (สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา, 2560: ออนไลน์)
อ่านเพิ่มเติมอ่านเพิ่มเติมยึดหลักการเป้าหมาย และแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำรงชีวิตและการประพฤติปฏิบัติตนของประชาชน ทุกระดับเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างพอเพียงเท่าทันและเป็นการศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้ มีทักษะที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอก โดยยึดหลัก ความพอประมาณที่เป็นความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีการตัดสินใจที่มีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบและมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล โดยใช้ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านมีความ รอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน พากเพียร และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560)
อ่านเพิ่มเติมอ่านเพิ่มเติม